เป็นอีกประเด็นร้อนนักข่าวโดนจับในสังคมขณะนี้ หลังเจ้าหน้าที่ตำรวจบุกจับกุมผู้สื่อข่าวประชาไทและช่างภาพอิสระ กรณีไปทำข่าวนักกิจกรรมพ่นสีกำแพงวัง เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2566 ซึ่งทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชนอย่างหนัก รวมไปถึงหลายฝ่ายที่ออกมาเรียกร้องว่า “การเสนอข่าวไม่ใช่อาชญากรรม” จนกลายเป็นประเด็นร้อนที่คนในความสนใจเป็นอย่างมากอยู่ในขณะนี้ Sanook รวบรวมเหตุการณ์จับกุมสื่อของรัฐไทยในครั้งนี้ พร้อมฟังเสียงองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อประเด็นที่ถูกมองว่าเป็น “การปิดปากสื่อ” ของสังคมไทย
“นักข่าว-ช่างอิสระ” โดนจับ
เมื่อวานนี้ (12 ก.พ. 67) มีรายงานว่า “ณัฐพล เมฆโสภณ” ผู้สื่อข่าวของประชาไท ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบแสดงหมายจับข้อหาเป็นผู้สนับสนุนทำให้โบราณสถานเสียหายจากการขีดเขียนข้อความ จากเหตุการณ์ที่ศิลปินคนหนึ่งได้พ่นสีเขียนข้อความเป็นสัญลักษณ์ไม่เอา 112 และเครื่องหมายสัญลักษณ์ “อนาคิสต์” บนกำแพงวัดพระแก้ว เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2566
นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า “ณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์” ช่างภาพอิสระที่ติดตามทำข่าวในเหตุการณ์เดียวกัน ก็ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมเช่นกัน
หลังทำการบันทึกการจับกุมและสอบปากคำ ผู้สื่อข่าวประชาไทและช่างภาพอิสระได้ให้การปฏิเสธข้อกล่าวหา โดยทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้ขอประกันตัวทั้ง 2 คน แต่พนักงานสอบสวนยืนยันว่าต้องนำตัวผู้สื่อข่าวประชาไทไปขังรอส่งศาลที่ สน.ฉลองกรุง ย่านมีนบุรี ส่วนช่างภาพอิสระจะถูกนำตัวไปขังรอส่งศาลที่ สน.ทุ่งสองห้อง โดยแจ้งให้ทนายความไปยื่นประกันตัวระหว่างสอบสวนกับศาลแทน
บรรณาธิการประชาไทให้สัมภาษณ์
เทวฤทธิ์ มณีฉาย บรรณาธิการสำนักข่าวประชาไท กล่าวถึงกรณีผู้สื่อข่าวประชาไทและช่างภาพอิสระถูกจับกุม โดยยืนยันว่าทั้งสองคนไปทำข่าว และการทำข่าวไม่ใช่การสนับสนุนการกระทำความผิด พร้อทตั้งข้อสังเกตและแสดงความกังวลว่ากระบวนการดำเนินคดีทำไมไม่ออกหมายเรียกก่อน แต่เป็นการออกหมายจับ ที่สำคัญหลังถูกจับกุม ทำไมไม่ให้สิทธิในการประกันตัว หรือให้มารับทราบข้อกล่าวหาแล้วปล่อยตัวเลย แต่กลายเป็นว่าทั้งสองคนถูกขอฝากขังต่อศาลทันที พร้อมตั้งคำถามว่าทำไมการทำข่าวถึงถือเป็นผู้สนับสนุนการกระทำที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นความผิดด้วย หากเป็นเช่นนี้ต่อไปจะกระทบต่อกระบวนการทำงานของผู้สื่อข่าวทั้งระบบนิเวศข่าวหมดหรือไม่ แม้จะไม่ฟ้องดำเนินคดีในกรณีอื่นๆ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลต่อความกังวลในใจของนักข่าวในอนาคต จนทำให้ประชาชนไม่ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารในเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
เทวฤทธิ์เผยต่อว่า ช่วงสุดสัปดาห์รวมทั้งก่อนหน้านั้น ไม่เพียงแค่นักข่าวประชาไทที่ถูกขู่และถูกประชิดตัว ถูกผลักหรือดันให้ล้มระหว่างทำข่าวในเหตุการณ์ที่สุ่มเสี่ยงต่อการใช้ความรุนแรง ยังมีนักข่าวพลเมือง ผู้สื่อข่าวอิสระที่รายงานเหตุการณ์หรือไลฟ์เหตุการณ์ชุมนุมถูกทำเช่นกัน ในฐานะสื่อมวลชนมองว่า การไลฟ์และการรายงานข่าวที่ผ่านมาเหมือนเป็นหูตาเป็นตาให้กับสังคม คอยจับจ้องป้องกันไม่ให้ใครใช้ความรุนแรงระหว่างกัน การพยายามทำให้คนเหล่านี้ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีอิสระหรืออยู่ภายใต้ความกลัวและถูกคุกคาม
”ขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือคู่ขัดแย้งรักษาพื้นที่การทำงานของสื่อไม่ว่าจะมีสังกัด หรือเป็นสื่ออิสระหรือสื่อพลเมือง ได้รายงานและถ่ายทอดเป็นผู้บันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นหูเป็นตาให้สังคมและเป็นหลักประกันว่า จะไม่เกิดการใช้ความรุนแรงต่อกัน และหากมีการใช้ความรุนแรงต่อกันก็จะถูกบันทึกและรายงานต่อสังคม ยืนยันว่าจริงๆ จุดยืนของเราคือไม่ใช่คู่ขัดแย้ง เราต้องการเสนอข้อเท็จจริงตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น” เทวฤทธิ์ กล่าว
ขอบคุณผู้สนับสนุนข้อมูลดีๆ จาก ALLSUREWIN
สนใจเข้ามาผ่อนคลายกับหลากหลายเกมส์มากมายให้เลือกเล่น ได้ที่ @ALLSUREWIN
เล่นที่นี่มีแต่วิน ต้องวินชัวร์ แอด @winsure
ใครปิด เราไม่ปิด สนใจเสี่ยงดวงติดต่อเราได้ที่ไลน์ @asw888 ตลอด 24 ชม.
เกมดี เกมมัน มากกว่า 1,000 เกม @gamewin
แค่คิดถึงเรา เงินก็อยู่ในบัญชี @asw168
เล่นได้ จ่ายชัวร์ @RT88