ศาลอุทธรณ์พิพากษาเเก้โทษประหารชีวิต บรรยิน กับมือฆ่าอุ้มฆ่าพี่ชายผู้พิพากษา

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ยกฟ้องบางมาตรา บรรยิน กับพวก อุ้มฆ่าพี่ชายผู้พิพากษา แต่ยังจำคุกตลอดชีวิต ชี้ บรรยินกับมือฆ่าไม่ผิดซ่องโจร ส่วนข้อหาข่มขืนใจผิดเป็นแค่การพยายาม ส่วนที่จำเลยทั้ง 6 ขอลดโทษข้อหาต่างๆ ยกคำร้องหมด

 

 

เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2565 ที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ศาลนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีอุ้มฆ่าพี่ชายผู้พิพากษาอดีตเจ้าของสำนวนโอนหุ้นเสี่ยชูวงษ์ หมายเลขดำ อท.69/2563 ที่พนักงานอัยการสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต 3 น.ส.พนิดา ศกุนตะประเสริฐเป็นโจทก์เเละโจทก์ร่วมยื่นฟ้อง พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ อดีต รมช.พาณิชย์, นายมานัส ทับทิม , นายณรงค์ศักดิ์ ป้อมจันทร์, นายชาติชาย เมณฑ์กูล, นายประชาวิทย์ หรือตูน ศรีทองสุข และ ด.ต.ธงชัย หรือ ส.จ.อ๊อด วจีสัจจะ ทั้งหมดภูมิลำเนา จ.นครสวรรค์ เป็นจำเลยที่ 1-6

 

ในความผิด 9 ข้อหา ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตนหรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้ ตามประมวลกฎหมายอาญา (ป.อ.) มาตรา 289, ฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้ใดเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ เป็นเหตุให้ผู้ถูกเอาตัวไปถึงแก่ความตาย มาตรา 309, 313, ฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มาตรา 310, ฐานร่วมกันข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยร่วมกันกระทำผิดตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป มาตรา 139, 140

 

ฐานเป็นซ่องโจร โดยสมคบกันเพื่อกระทำผิดที่มีระวางโทษประหารชีวิต มาตรา 210, ฐานร่วมกันพยายามข่มขืนใจผู้อื่น ให้กระทำการใดโดยร่วมกันกระทำผิดตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป มาตรา 213, ฐานร่วมกันซ่อนเร้น ทำลายศพเพื่อปิดบังการตายและสาเหตุการตาย มาตรา 199, ฐานร่วมกันกระทำการใดๆ แก่ศพก่อนการชันสูตรพลิกศพเสร็จสิ้นเพื่ออำพรางคดี

 

คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 15 ธ.ค.63 ว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดฐานร่วมกันกักขังหน่วงเหนี่ยวเป็นเหตุให้ผู้อื่นจนถึงแก่ความตายฯ ลงโทษประหารชีวิต, ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนฯ ตาม ป.อาญา มาตรา 289(4)(7) ลงโทษประหารชีวิต, ฐานแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานฯ จำคุก 1ปี สวมเครื่องแบบเจ้าพนักงานฯ จำคุก 1 ปี, ซ่อนเร้นทำลายศพฯ จำคุก 4 ปี แต่จำเลยที่ 1 ให้การเป็นประโยชน์ลดโทษ 1 ใน 3 ทุกข้อหา คงจำคุกจำเลยที่ 1 ทั้งสิ้นตลอดชีวิตสถานเดียว

 

ส่วนจำเลยที่ 2 มีความผิดฐานสนับสนุนให้กระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนฯ ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต แต่ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือจำคุก 33 ปี 4 เดือน จำเลยที่ 4-6 มีความผิดฐานร่วมกันกักขังหน่วงเหนี่ยวให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายฯ(เรียกค่าไถ่) ลงโทษประหารชีวิต แต่ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต โดยจำเลยที่ 1 ให้นับโทษต่อจากคดีโอนหุ้นจำคุก 8 ปี ของศาลอาญากรุงเทพใต้

 

จำเลยที่3 กระทำผิดฆ่าโดยไตร่ตรอง (คนลงมือ) พิพากษาประหารชีวิต เเละกักขังหน่วงเหนี่ยวให้ผู้อื่นถึงเเก่ความตาย พิพากษาประหารชีวิต ให้การเป็นประโยชน์ลดเหลือจำคุกตลอดชีวิต

ต่อมาโจทก์ โจทก์ร่วม จําเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ที่ 5 ที่ 6 ยื่นอุทธรณ์ จําเลยที่ 3 ไม่อุทธรณ์

 

ศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ตรวจสํานวนประชุมปรึกษาแล้วพฤติการณ์ ที่มีการเตรียมอุปกรณ์ การเผาทําลายศพในสถานที่ที่ยากแก่การรู้เห็นของบุคคลอื่นไว้ล่วงหน้า ก่อนที่จะลักพาตัวผู้ตาย บ่งชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าจําเลยที่ 1 มีเจตนาฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรอง ไว้ก่อนและเพื่อปกปิดการกระทําความผิดอื่นหรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดที่ตนได้กระทําไว้ ตั้งแต่ต้น จําเลยที่ 1 คาดการณ์ไว้แล้วว่า ผู้ต้องจะต้องขัดขืนไม่ให้มีการนําตัวผู้ตายไปโดยง่าย หากผู้ตายขัดขืนจะตัวมีการใช้กําลังบังคับหรือประทุษร้าย ผู้ร้ายโดยวิธีใดวิธีหนึ่งเพื่อให้ผู้ตายยินยอม ให้จําเลยที่ 1 เอาตัวผู้ตายไป

 

ฟังได้ว่า จําเลยที่ 1 ใช้กําลังประทุษร้ายผู้ตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล ประกอบกับจําเลยที่ 1 มีเจตนาฆ่าผู้ตายมาตั้งแต่แรก ต่อมาจําเลยที่ 1 และที่ 3 นําผู้ตายไปเผาในสถานที่ที่เตรียมการไว้ การตายของผู้ตายจึงเป็นผลโดยตรงจากการกระทําของจําเลยของจําเลยที่ 1 และที่ 3

 

พยานหลักฐานของโจทก์มีนําหนักเพียงพอให้รับฟังได้ว่า จําเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันฆ่าผู้ตาย โดยไตร่ตรองไว้ก่อน และเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตนหรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่น ที่ได้กระทําไว้ตามคําพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อจําเลยที่ 1 ลักพาตัวผู้ตาย เพื่อจะให้ผู้ตายต่อรองให้โจทก์ร่วมพิพากษายกฟ้อง

 

ถือได้ว่าจําเลยที่ 1 ลงมือกระทําโดยลักพาผู้ตายโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อจะเรียก ค่าไถ่ซึ่งครบองค์ประกอบความผิดแล้ว จําเลยที่ 2 มีส่วนกับจําเลยที่ 1 และที่ 3 สะกดรอยติดตาม ความเคลื่อนไหวของโจทก์ร่วมและผู้ตาย ในวันเกิดเหตุจําเลยที่ 2 ยังขับรถยนต์พาจําเลยที่ 1 ที่ 3 กับที่ 5 จากจังหวัดนครสวรรค์ มาที่บ้านเลขที่ 9/13 และขับรถยนต์จากจังหวัดนครสวรรค์ ไปรอจําเลยที่ 1 และที่ 3 กับพวก โดยทราบว่าจําเลยที่ 1 และที่ 3 มีเจตนาจะลักพาตัวผู้ตาย เป็นการสนับสนุนจําเลยที่ 1 กับพวกกระทําความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เพื่อปกปิดความผิดอื่นของตนหรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทําไว้ และเพื่อให้ได้ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังบคุคลใดเป็นเหตุให้ผู้ถูกเอาตัวไปผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือผู้ถูก กักขังถึงแก่ความตาย

 

จําเลยที่ 4 และจําเลยที่ 5 ร่วมกับจําเลยที่ 1 และที่ 3 หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้ตาย จําเลยที่ 4 และที่ 5 จึงมีความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้ตายเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จําเลยที่ 4 และที่ 5 มีเจตนาลักพาตัวผู้ตายไปเพื่อหน่วงเหนี่ยวกักขังเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ

 

เมื่อจําเลยที่ 3 ใช้กําลังประทุษร้ายผู้ตายจนถึงแก่ความตาย แม้จําเลยที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นตัวการร่วม จะไม่มีเจตนาให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จําเลยที่ 4 และที่ 5 ต้องรับผิดในผลของความตายนั้นด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 63 จําเลยที่ 6 เข้าใจตั้งแต่ต้นว่าจําเลยที่ 1 ให้ จําเลยที่ 6 หาคนไปช่วยทวงหนี้แต่ที่จําเลยที่ 4 และที่ 5 ให้การต่อพนักงานสอบสวนไม่ปรากฏว่าก่อนหน้านั้น จําเลยที่ 4 และที่ 5 มีความรู้หรือความเชี่ยวชาญด้านการทวงหนี้ตามกฎหมายมาก่อน จําเลยที่ 6 ย่อมคาดหมายได้แล้วว่า การทวงหนี้ของจําเลยที่ 1 จะต้องมีการใช้กําลังบังคับหรือประทุษร้าย หรือหน่วงเหนี่ยวบุคคลหนึ่งให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย จําเลยที่ 1 จึงต้องให้จําเลยที่ 6 หาคนไปช่วยดําเนินการให้

 

ฟังได้ว่าจําเลยที่ 6 ได้ช่วยเหลือโดยอํานวยความสะดวกให้จําเลยที่ 4 และที่ 5 เดินทางไปกับจําเลยที่ 1 เมื่อจําเลยที่ 4 และที่ 5 ร่วมกับจําเลยที่ 1 และที่ 3 นําตัวผู้ตาย ไปหน่วงเหนี่ยวกักขังในรถคันก่อเหตุโดยเจตนาเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ตามที่วินิจฉัยแล้ว การกระทํา ของจําเลยที่ 6 จึงเป็นการสนับสนุนจําเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 กระทําความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยว หรือกักขังผู้อื่น และฐานเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังบุคคลอื่นตามคําพิพากษา ศาลชั้นต้น แต่มิใช่เพียงมาตรา 310 วรรคแรก, 313 (3) วรรคแรก

 

ศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเห็นสมควรแก้ไขปรับบทให้ถูกต้องเป็นมาตรา 310 วรรคสอง, 313(3)วรรคท้าย ประกอบ มาตรา 86, 87 วรรคสอง

ปัญหาว่าสมควรลงโทษจําเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 เบากว่าคําพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่ ความผิดฐานเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังบุคคลใดเป็นเหตุให้ผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือผู้ถูกกักขังถึงแก่ความตาย และฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เพื่อปกปิดความผิดของตนหรือหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดที่ตนกระทําไว้ ตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 289 (4) (7) และมาตรา 313 (3) วรรคท้าย มีระวางโทษประหารชีวิต สถานเดียว จึงกําหนดโดยจําเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 อย่างอีกไม่ได้

 

ส่วนความผิดฐานสวมเครื่องแบบและประดับเครื่องหมายของเจ้าพนักงานและแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานและกระทําการเป็นเจ้าพนักงาน โดยตนเองมิได้เป็นเจ้าพนักงานที่มีอํานาจกระทําการนั้น และฐานร่วมกันกระทําการใด ๆ แก่ศพ หรือสภาพแวดล้อมในบริเวณที่พบศพก่อนชันสูตรพลิกศพเสร็จสิ้นในประการที่น่าจะทําให้การชันสูตร พลิกศพหรือผลทางคดีเปลี่ยนแปลงไปหรือเพื่ออําพรางคดีศาลชั้นต้นกําหนดโทษเหมาะสม กับพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ไม่มีเหตุที่ศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบจะเปลี่ยนแปลงแก้ไข

 

ปัญหาว่ามีเหตุสมควรลดโทษให้จําเลยทั้งหกหรือไม่ จําเลยที่ 1 กับพวกมีพฤติการณ์สมคบ และร่วมกันวางแผนเพื่อกระทําผิดมาอย่างดีและมีการแบ่งหน้าที่กันทําอย่างเป็นขั้นตอน การที่จําเลยที่ 1 อ้างว่ามีเหตุจูงใจมาจากจําเลยที่ 1 กับพวกไม่ได้รับความเป็นธรรมในการพิจารณาคดีของโจทก์ร่วม ซึ่งเป็นผู้พิพากษาเจ้าของสํานวน

 

จําเลยที่ 1 เคยรับราชการตํารวจในตําแหน่งพันตํารวจโท เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเคยดํารงตําแหน่งรัฐมนตรี ประกอบกับมีทนายความช่วยแก้ต่างให้ ย่อมทราบถึงขั้นตอนและวิธีพิจารณาความว่ายังสามารถใช้สิทธิในการอุทธรณ์และฎีกาคําพิพากษาต่อไปได้การที่จําเลยที่ 1 กับพวกใช้วิธีการที่ผิดกฎหมายบังคับข่มขู่ผู้พิพากษาผู้พิจารณาคดี เพื่อให้เจ้าพนักงานปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ และร่วมกระทําผิดในที่สาธารณะอย่างอุกอาจ โดยไม่ยําเกรงต่อกฎหมาย

 

จึงถือว่าเป็นคดีอุกฉกรรจ์ที่เป็นภัยต่อสังคมโดยรวมอย่างร้ายแรง และส่งผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรม เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างและเพื่อป้องปรามไม่ให้มีการ กระทําผิดลักษณะนี้อีก จึงไม่สมควรลดโทษให้แก่จําเลยนั้น

เห็นว่า คํารับสารภาพหรือรับข้อเท็จจริง ของจําเลยอันจะถือเป็นเหตุบรรเทาโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ได้นั้น จะต้องเป็น กรณีที่ให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ศาลจึงจะพิจารณาลดโทษที่จะลงให้แก่ จําเลย ได้การพิจารณาของศาลชั้นต้นนั้น

 

ปรากฏว่าโจทก์มีพยานหลักฐานจากกล้องวงจรปิดที่บนัทึกภาพ เหตุการณ์ตั้งแต่จําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันสะกดรอยติดตามความเคลื่อนไหวของโจทก์ร่วมกับผู้ตาย สถานที่ที่จําเลยที่ 6 ขับรถมาส่งจําเลยที่ 4 และที่ 5 ขึ้นรถยนต์ไปกับจําเลยที่ 1 ตลอดจนการใช้พาหนะสําหรับเดินทางของจําเลยที่ 1 ถึงที่ 5 จากจ.นครสวรรค์ มาจนถึงบริเวณที่จอดรถ รอผู้ตายที่หน้าศาลแพ่งกรุงเทพใต้

 

กล้องวงจรปิดสามารถบันทึกเหตุการณ์ภายหลังจากที่จําเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 นําตัวผู้ตายขึ้นรถและหลบหนีไปที่บริเวณที่เตรียมอุปกรณ์รอไว้เผาร่างผู้ตาย มีวัตถุพยาน ที่พบอยู่บริเวณที่เผาศพผู้ตายสอดคล้องกับรายงานการตรวจสารพันธุกรรม ซึ่งเป็นพยานหลักฐาน ทางนิติวิทยาศาสตร์ รวมถึงพยานจากการวิเคราะห์ข้อมูลการให้โทรศัพท์เคลื่อนที่ติดต่อสื่อสารระหว่าง ผู้กระทําความผิดอย่างต่อเนื่องเชื่อมโยงกันเป็นการเฉพาะกิจ ถึงแม้ว่าโจทก์จะไม่มีประจักษ์พยาน ที่รู้เห็นเหตุการณ์ขณะที่จําเลยที่ 1 และที่ 3 แต่ศาลก็อาศัยพยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าว เป็นพยานหลักฐานสําคัญในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงและพิพากษาลงโทษจําเลยทั้งหกได้ โดยไม่มีความจําเป็นต้องอาศัยคํารับของจําเลยอีก

 

ทั้งจําเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพหลังจากได้ตรวจ พยานหลักฐานของโจทก์แล้วมีเหตุผลให้น่าเชื่อว่า จําเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 6 ยอมรับข้อเท็จจริง จําเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณา เพราะจํานนต่อพยานหลักฐาน หาใช่รับสารภาพ เพราะสํานึกในความผิด

คํารับสารภาพเช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันจะเป็นประโยชน์ แก่การพิจารณา จึงไม่มีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 อันจะพึงลดโทษให้ได้

ที่ศาลชั้นต้นลดโทษให้แก่จําเลยทั้งหกนั้น ศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ไม่เห็นพ้องด้วย

 

พิพากษาแก้เป็นว่า จําเลยที่ 1และที่ 3 ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140 วรรคแรก ส่วนความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคแรก เป็นเพียง การพยายามกระทําความผิดตาม มาตรา 80 จําเลยที่ 2 ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4) (7) และมาตรา 314 ประกอบมาตรา 86 แต่จําเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 310 วรรคแรก

 

 

 

 

 

ขอบคุณ ข่าวสด/