เด็กผู้หญิงชาวอัฟกัน โพสตัดพ้อทั้งน้ำตาต่อประชาคมโลกที่ต่างนิ่งเฉย

เด็กหญิงชาวอัฟกัน ทวิตโลกไม่สนใจ เพราะเกิดที่อัฟกานิสถาน พ้อไม่มีใครแคร์พวกเราเลย พวกเราจะต้องตายอย่างช้าๆ ไปกับประวัติศาสตร์หน้านี้ 

 

 

The emotional video, which garnered roughly 1.6M views, was initially posted to Twitter by human rights activist Masih Alinejad and features a crying girl whose identity remains unknown

 

วันที่ 16 ส.ค. เดลีเมล์รายงานกระแสผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วโลกเข้าชมและแสดงความคิดเห็นอย่างท่วมท้นต่อคลิปความยาว 45 วินาที ของเด็กหญิงชาวอัฟกันคนหนึ่งที่ตัดพ้อชาวโลกทั้งน้ำตา ว่าไม่มีชาติใดเหลียวแลให้ความช่วยเหลือหลังนักรบตาลิบันยึดครองอัฟกานิสถานได้สำเร็จในระยะเวลาอันรวดเร็ว สร้างความตื่นตะลึงให้รัฐบาลทั่วโลก

 

คลิปดังกล่าวถูกนำมาเผยแพร่โดยนักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชน มาซีห์ อลีเนจาด มีผู้เข้าชมแล้วอย่างน้อย 1.6 ล้านครั้ง มีเนื้อหาเป็นเด็กผู้หญิงชาวอัฟกันยังไม่ทราบชะตะกรรม กล่าวตัดพ้อทั้งน้ำตาต่อประชาคมโลกที่ต่างนิ่งเฉย

 

 

เด็กหญิงผู้นี้ กล่าวว่า “พวกเราไม่ถูกนับรวมเป็นพลเมืองของโลก เพียงเพราะเกิดเป็นคนอัฟกัน” และว่า “หนูฟังแล้วอยากร้องไห้” “ไม่มีใครแคร์พวกเราเลย พวกเราจะต้องตายอย่างช้าๆ ไปกับประวัติศาสตร์หน้านี้” โดยตลอดเวลาที่เด็กกล่าวตัดพ้อนั้นมีน้ำตาไหลออกมาไม่หยุด

 

“น่าขำดีมั้ยคะ” เด็กผู้หญิงถามเชิงประชดประชันพร้อมฝืนหัวเราะและยิ้มเล็กน้อยก่อนจะเริ่มร้องไห้อีก ซึ่งเป็นช่วงที่คลิปถูกตัดจบไป

 

รายงานระบุว่า กลุ่มตาลิบันเคยเป็นผู้ปกครองอัฟกานิสถานระหว่างปี 2539 ถึง 2544 ก่อนถูกโค่นล้มโดยกองทัพสหรัฐอเมริกาหลังเหตุวินาศกรรม 11 กันยาฯ ปี 2544

 

ภายใต้การปกครองในสมัยนั้นของกลุ่มตาลิบัน เด็กผู้หญิงไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าเรียนตามสถานศึกษา ขณะที่ผู้หญิงจะออกนอกเคหะสถานได้ก็ต่อเมื่อแต่งกายด้วยชุดคลุมมิดชิดตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า รวมทั้งปิดบังใบหน้า และต้องมีผู้ปกครองที่เป็นผู้ชายเดินทางไปด้วยเท่านั้น

 

บุคคลที่ละเมิดข้อบังคับดังกล่าวมักถูกลงโทษอย่างทารุณด้วยการเฆี่ยนตีประจานในที่สาธารณะ ใช้หินรุมปาใส่จนขาดใจตาย หรือถูกสังหารในทันทีอย่างเหี้ยมโหด

 

เศร้าทวีตสาวอัฟกัน

 

ความเหี้ยมโหดข้างต้นส่งผลให้มีบุคคลสำคัญของโลกหลายคนแสดงความวิตกต่อการกลับคืนสู่อำนาจของกลุ่มตาลิบัน ว่าผู้หญิงและเด็ก เป็นกลุ่มคนหลักที่กำลังอยู่ในอันตรายอย่างยิ่งยวด

 

บุคคลเหล่านี้ อาทิ นายอันโตนิโอ กูเตร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ หรือยูเอ็น และนางสาวมาลาลา ยูซาฟไซ ชาวปากีสถาน เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2557 ที่อายุน้อยที่สุด นักต่อสู้ด้านสิทธิสตรี หลังถูกนักรบตาลิบันในปากีฯ พยายามสังหารแต่ไม่สำเร็จ

 

เศร้าทวีตสาวอัฟกัน

 

ล่าสุด มีรายงานด้วยว่านักรบตาลิบันเดินทางตามชุมชนต่างๆ เพื่อพบปะกับบรรดาอิหม่ามแต่ละท้องที่เพื่อบีบบังคับให้รวบรวมรายชื่อเด็กหญิงอายุ 12 ปีขึ้นไปเพื่อนำมาบังคับแต่งงาน รวมถึงบีบให้อิหม่ามนำหญิงสาวมาเป็นทาสกามเพื่อบำเรอกำหนัดให้เหล่านักรบตาลิบันด้วย

 

 

 

ขอบคุณ ข่าวสด/เดลีเมล์