ปัจจุบัน “สังคมไร้เงินสด” กำลังถูกคุกคามจากภัยไซเบอร์อย่างหนัก ทำให้ประชาชนที่ผูกบัญชีไว้กับแอปฯ ธนาคารต่างๆ หวาดผวาไปตามๆ กัน ซึ่งกลุ่มมิจฉาชีพตัวแสบเหล่านี้ จะมีเทคนิคหลากหลายวิธีในการหลอกลวงผู้เสียหาย ซึ่งจากเดิมคนร้ายจะหลอกให้เหยื่อโอนเงินโดยตรง เปลี่ยนมาเป็นการหลอกกดลิงก์ ติดตั้งโปรแกรมควบคุมโทรศัพท์มือถือ เพื่อล้วงข้อมูลของเหยื่อหลอก “ดูดเงิน” จากแอปฯ ธนาคาร ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชน ที่มีต่อสถาบันการเงินเป็นอย่างมาก!!!
ธนาคารเร่งอุดช่อง ฟื้นความเชื่อมั่น ผุดศูนย์ตรวจเช็กฯ ยับยั่งมิจฉาชีพ
นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย และในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย (TBA) กล่าวถึงผลกระทบดังกล่าวและมาตรการป้องกันว่า ธนาคารยอมรับว่าการหลอกลวงโอนเงินผ่านแอปพลิเคชันโมบายแบงกิ้ง ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนต่อสถาบันการเงิน ซึ่งมาตรการป้องกันมิจฉาชีพนั้น จะต้องป้องกันตั้งแต่ต้นทางหรือตั้งแต่ระบบสื่อสาร/อินเทอร์เน็ตไปจนถึงการโอนเงินข้ามธนาคารผ่านบัญชีม้า และการสร้างความรู้ความเข้าใจ โดยต้องดูทั้งระบบนิเวศแบบ end to end เช่น การตรวจจับการเปิดเบอร์มือถือในจำนวนมากและผิดสังเกต ซึ่งเป็นเรื่องต้องประสานงานระหว่างกันเพื่อยับยั้งให้ทัน
ทั้งนี้ มาตรการจะแบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ 1. ภายในธนาคารเอง ปัจจุบันจะเห็นว่าทุกธนาคารอยู่ระหว่างการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีและการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการตรวจจับธุรกรรมน่าสงสัยที่มีลักษณะเดียวกันและเป็นธุรกรรมที่ต้องระวัง และ 2. ข้ามธนาคาร โดยกรณีที่ธนาคารใดธนาคารหนึ่งเจอธุรกรรมน่าสงสัย จะมีการแจ้งให้ธนาคารอื่นพึงระมัดระวังร่วมกัน ซึ่งทุกธนาคารจำเป็นต้องเร่งพัฒนาการตรวจจับโดยใช้ระบบเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยตรวจจับธุรกรรมที่มีจำนวนมาก
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการป้องกันเพิ่มเติม สมาคมธนาคารไทย ร่วมกับสมาชิกธนาคาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และศูนย์ประสานงานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศภาคธนาคาร (TB-CERT)
จัดทำระบบติดตามความเสี่ยงผ่านการจัดตั้ง ศูนย์ตรวจเช็กธุรกรรมที่มีความเสี่ยงทุจริตหรือต้องสงสัย หรือเรียกว่า central fraud registry โดยดำเนินการผ่านบริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด (ITMX) ซึ่งจะเป็นตัวกลางคอยตรวจจับและยับยั้งธุรกรรมต้องสงสัยแบบตลอดเส้นทาง (end to end)
แก้ ก.ม. ให้อำนาจแบงก์ มีสิทธิบล็อกธุรกรรมทันที พร้อมเพิ่มมาตรการยืนยันตัวตน
นายผยง กล่าวเพิ่มเติมว่า อย่างไรก็ดี จากพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ทำให้กลไกการยับยั้งธุรกรรมน่าสงสัยทำได้ไม่รวดเร็ว โดยเฉพาะอาชญกรรมข้ามธนาคาร จึงต้องมีการยกร่างพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ซึ่งร่าง พ.ร.ก. ดังกล่าว จะให้สิทธิธนาคารสามารถบล็อกธุรกรรมได้ทันที ไม่ต้องรอแจ้งความ รวมถึงกำหนดให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีและธุรกรรมของลูกค้าที่ต้องสงสัยได้ โดยไม่ขัดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล นอกจากนี้ ในส่วนของ ธปท. นั้น จะมีมาตรการป้องกันเพิ่มเติม โดยจะให้ธนาคารเพิ่มกระบวนการยืนยันตัวตนด้วย biometric comparison บนโมบายแบงกิ้ง หากเข้าเงื่อนไขที่กำหนดโดยแบงก์ชาติจะมีการกำหนดเงื่อนไข เช่น จำนวนเงินและความถี่ในการโอนเป็นต้น ซึ่งในรายละเอียดอาจจะต้องรอ ธปท. เป็นผู้กำหนดและประกาศอีกครั้ง
“การยืนยันตัวตนด้วย biometric จะเป็นวิธีเพิ่มเติม จากเดิมที่สามารถโอนเงินได้ทันที แต่ต่อไปก่อนจะโอนเงินจะต้องมีการสแกนใบหน้ายืนยันตัวตน เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นเจ้าของบัญชีตัวจริงถึงจะสามารถโอนเงินได้ ซึ่งแน่นอนว่ามาตรการเพิ่มเติมจะมาพร้อมความไม่สะดวกสบายของลูกค้า ส่วนจะมีเกณฑ์หรือรายละเอียดยังไงคงต้องรอให้ ธปท. แถลงอีกครั้ง”
สำหรับศูนย์ตรวจธุรกรรมเสี่ยง ที่จะมีการจัดตั้งผ่านระบบกลาง ITMX ก็จะต้องเร่งสปีด ซึ่งหาก พ.ร.ก. สามารถออกมาได้เร็ว จะทำให้เราสามารถบล็อกธุรกรรมได้เลยทันที ไม่ต้องรอผู้เสียหายไปแจ้งความ ซึ่งจะทำให้การจัดการบัญชีม้าหรือยับยั้งธุรกรรมต้องสงสัยทำได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เปิดฮอตไลน์รับเรื่อง 24 ชั่วโมง ให้ลูกค้าแจ้งเหตุได้โดยตรง
ด้าน น.ส.สิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธปท. และสถาบันการเงินอยู่ระหว่างเตรียมการ เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลการทุจริตและบัญชีม้าระหว่างกัน โดยจะสามารถเริ่มดำเนินการได้หลังจากร่าง พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีมีผลบังคับใช้
นอกจากนี้ ธปท. ยังมีมาตรการป้องกันเพิ่มเติม โดยจะให้ธนาคารเพิ่มกระบวนการยืนยันตัวตนด้วย biometric comparison บนโมบายแบงกิ้งเมื่อเข้าเงื่อนไขที่กำหนด เช่น การโอนเงินจำนวนมาก ทั้งจำนวนเงินและความถี่ รวมถึงการปรับเพิ่มวงเงินต่อวัน โดยกำหนดตามพฤติกรรมหรือระดับความเสี่ยงของลูกค้าของธนาคาร รวมทั้งให้มีฮอตไลน์อย่างเพียงพอ ตลอด 24 ชม. ให้ลูกค้าสามารถแจ้งเหตุหลอกลวงได้โดยตรง
ปอท. เผยมิจฉาชีพเขียนแอปฯ เอง เลียนแบบหน่วยงานราชการ สร้างความน่าเชื่อถือ
ขณะที่ พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (รอง ผบก.ปอท.) ในฐานะโฆษกกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เปิดเผยถึงวิธีการคนร้ายในปัจุจบันว่า คนร้ายจะใช้แอปพลิเคชันในรูปแบบของโปรแกรมการควบคุมเครื่องระยะไกล หรือที่เรียกว่า Remote Desktop Software ซึ่งในช่วงแรกนั้นคนร้ายจะใช้แอปพลิเคชันที่ใช้งานกันโดยทั่วไป เช่น TeamViewer หรือ AnyDesk ต่อมาเมื่อมีผู้เสียหายเพิ่มมากขึ้น และมีการแจ้งเตือนทางสื่อต่างๆ ทำให้ผู้ใช้มีความระมัดระวังในการใช้งานแอปพลิเคชันดังกล่าว อีกทั้งหลายธนาคารยังทำการแก้ไขแอปพลิเคชันธนาคาร เพื่อป้องกันไม่ให้คนร้ายใช้โปรแกรม Remote Desktop เพื่อใช้งานแอปพลิเคชันธนาคารได้ โดยการตรวจสอบว่าขณะใช้งานมีการแชร์ภาพหน้าจออยู่หรือไม่ หากมีการใช้งานอยู่จะทำให้ไม่สามารถใช้แอปพลิเคชันธนาคารได้ ทำให้ในปัจจุบันคนร้ายเลือกที่จะทำการเขียนแอปพลิเคชันขึ้นมาเอง ซึ่งคนร้ายจะสามารถทำแอปพลิเคชันให้มีลักษณะคล้ายกับของหน่วยงานราชการหรือองค์กรต่างๆ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และหลอกให้ผู้เสียหายยินยอมให้แอปพลิเคชันเข้าถึงข้อมูลด้วยวิธีการต่างๆ หรือใช้ช่องว่างของระบบปฏิบัติการในการข้ามขั้นตอนการกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลของแอปพลิเคชันของคนร้ายได้
แฉขั้นตอนหลอกติดตั้งแอปฯ
สำหรับขั้นตอนการหลอกลวงของคนร้ายนั้น มักจะเริ่มต้นด้วยการแอบอ้างเป็นหน่วยงานรัฐหรือเอกชน หลอกให้ผู้เสียหายติดตั้งแอปพลิเคชันจากลิงก์ที่คนร้ายส่งให้ โดยอ้างว่าเพื่ออำนวยความสะดวกหรือเพื่อรับโปรโมชั่นพิเศษ อาจมีการทำหน้าเว็บไซต์ปลอมให้ดูน่าเชื่อถือ ซึ่งถ้าหากเหยื่อหลงเชื่อติดตั้งโปรแกรมของคนร้าย และกดอนุญาตให้คนร้ายควบคุมโทรศัพท์ของตน ก็จะทำให้คนร้ายสามารถมองเห็นหน้าจอ หรือควบคุมเครื่องของผู้เสียหายได้ เสมือนกับคนร้ายถือโทรศัพท์ของผู้เสียหายอยู่
จากนั้นคนร้ายจะใช้อุบายต่างๆ ในการหลอกเอาข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้เสียหาย โดยเฉพาะรหัส PIN ในการเข้าใช้งานแอปพลิเคชันต่างๆ โดยหลอกให้ผู้เสียหายตั้งรหัส PIN ในแอปพลิเคชันของคนร้าย หรือหลอกให้ผู้เสียหายทำการชำระเงินจำนวนน้อยๆ ผ่านแอปพลิเคชันธนาคาร เพื่อดูว่าผู้เสียหายใช้รหัส PIN อะไร ในการทำการโอนเงิน (คนร้ายสามารถมองเห็นจากโทรศัพท์ของคนร้าย) เมื่อคนร้ายทราบรหัส PIN แล้ว จากนั้นจะบอกให้ผู้เสียหายคว่ำหน้าจอโทรศัพท์ไว้ หรือขึ้นป๊อปอัพจากแอปพลิเคชันของคนร้ายเพื่อบังหน้าจอไว้ หลังจากนั้นคนร้ายก็จะนำรหัส PIN ที่ได้ไปใช้งานกับแอปพลิเคชันธนาคารเพื่อถอนเงินออกจากบัญชีผู้เสียหายจนหมดบัญชี
ขอขอบคุณผู้สนับสนุนเนื้อหา : thairath
ขอบคุณผู้สนับสนุนข้อมูลดีๆ จาก ALLSUREWIN
สนใจเข้ามาผ่อนคลายกับหลากหลายเกมส์มากมายให้เลือกเล่น ได้ที่ @ALLSUREWIN
เล่นที่นี่มีแต่วิน ต้องวินชัวร์ แอด @winsure
ใครปิด เราไม่ปิด สนใจเสี่ยงดวงติดต่อเราได้ที่ไลน์ @asw888 ตลอด 24 ชม.
เกมดี เกมมัน มากกว่า 1,000 เกม @gamewin
แค่คิดถึงเรา เงินก็อยู่ในบัญชี @asw168
เล่นได้ จ่ายชัวร์ @RT88