จำคุก ส.ต.ต. นรวิชญ์ 1 ปี 15 วัน ไม่รอลงอาญา กรณีบิ๊กไบค์ชน หมอกระต่าย

ศาลอาญา พิพากษา จำคุก ส.ต.ต. นรวิชญ์ 1 ปี 15 วัน ไม่รอลงอาญา กรณีขี่บิ๊กไบค์ชน หมอกระต่าย เสียชีวิตขณะข้ามทางม้าลาย ล่าสุดอนุญาตให้ประกันตัว หลังพ่อยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราว ด้านโฆษก ตร.แจงอีกครั้ง ปม ส.ต.ต.นรวิชญ์ ยังไม่ออกจากราชการเด็ดขาด ต้องรอศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเสียก่อน

 

 

 

วันที่ 25 เมษายน 2565 ศาลอาญา นัดอ่านคำพิพากษาที่พนักงานอัยการคดีอาญา 3 เป็นโจทก์ฟ้อง ส.ต.ต. นรวิชญ์ บัวดก สังกัดตำรวจอารักขาและควบคุมฝูงชน หลังขี่รถบิ๊กไบค์ชน พญ.วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล หรือ หมอกระต่าย จักษุแพทย์ ภาควิชาจักษุวิทยาคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสียชีวิตขณะเดินข้ามทางม้าลาย บริเวณใกล้แยกพญาไท

 

 

สำหรับ ส.ต.ต. นรวิชญ์ ที่ผ่านมาแถลงให้การรับสารภาพ ไม่ต่อสู้คดี โดยได้รับการประกันตัว 50,000 บาท ออกมาสู้คดี โดยวันนี้ศาลไม่ได้ให้เข้าฟังคำพิพากษาในห้องพิจารณาคดี เนื่องจากมาตรการโควิด 19

 

ต่อมา เฟซบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่า รายงานว่า ศาลอาญาพิพากษา จำคุก ส.ต.ต. นรวิชญ์ 1 ปี 15 วัน และปรับ 4,000 บาท โดยไม่รอลงอาญา

 

พีคจัด! ส.ต.ต นรวิชญ์ หวังสร้างหลักฐาน ไปขอตรวจตาอ้างมองไม่เห็น  แต่หมอที่รับปรึกษาตัวเองเพิ่งชนตายไป

 

และในวันเดียวกัน (25 เมษายน 2565) สำนักข่าวไทย รายงานเพิ่มเติมคำพิพากษาว่า ส.ต.ต. นรวิชญ์ มีความผิดขี่รถจักรยานยนต์เร็วในเขตชุมชนด้วยความประมาท จนเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าว จึงพิพากษาให้จำคุก 2 ปี 30 วัน ปรับ 8,000 บาท แต่จำเลยให้การรับสารภาพจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงเหลือโทษ จำคุก 1 ปี 15 วัน และปรับ 4,000 บาท โทษจำคุกไม่รอลงอาญา พร้อมมีการเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ด้วย

         

เบื้องต้น ทนายความ เปิดเผยว่า บิดาของ ส.ต.ต. นรวิชญ์ อยู่ระหว่างใช้ตำแหน่ง ร้อยตำรวจตรี ของตัวเองยื่นประกันตัวลูกชาย เพื่อยื่นอุทธรณ์ขอต่อสู้คดีต่อไป

 

ส.ต.ต.ขอบวชให้ “หมอกระต่าย” ต้นสังกัดสั่งสอบวินัย ตำรวจ ยัน  ไม่ได้ปกปิดข้อมูล เคลียร์ปม “ดูคาติ” แจ้งแล้ว 7 ข้อหา

        

ขณะที่ พล.ต.ต. ยิ่งยศ เทพจำนงค์ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า หลังศาลสั่งจำคุก ส.ต.ต. นรวิชญ์ ซึ่งก่อนหน้านี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) มีคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนนั้น จึงมีคำสั่งใหม่อีกฉบับให้ ส.ต.ต. นรวิชญ์ ออกจากราชการทันที โดยอ้างอิงจากคำสั่งศาล แต่หากมีการยื่นอุทธรณ์ในชั้นถัดไป แล้วมีการเปลี่ยนแปลงคำตัดสินเป็นอื่น ก็มีสิทธิที่จะยื่นเรื่องขอกลับเข้ารับราชการได้ใหม่

 

 

 

 

 

ขอบคุณ สำนักข่าวไทย /kapook.com/ไทยรัฐ